FBS ก้าวเข้าสู่ปีที่ 16

ปลดล็อกของรางวัลวันเกิด: ตั้งแต่แก็ดเจ็ตและรถในฝันไปจนถึงทริป VIPเรียนรู้เพิ่มเติม

21 ก.ค. 2025

กลยุทธ์

ความเชื่อมั่นของตลาดคืออะไร และตัวบ่งชี้ของมันมีอะไรบ้าง?

ความเชื่อมั่นของตลาดในตลาดฟอเร็กซ์คืออะไร?

ความเชื่อมั่นของตลาดคือทัศนคติของนักลงทุนที่มีต่อสภาพตลาด บริษัท หรือภาคเศรษฐกิจ โดยความเชื่อมั่นนี้จะถูกกำหนดจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น สถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ ข่าวล่าสุด หรือรายงานผลประกอบการ การทำความเข้าใจความเชื่อมั่นของตลาดจะช่วยให้นักลงทุนสามารถระบุแนวโน้มของตลาดและเข้าร่วมได้ก่อนที่จะสายเกินไป โดยความเชื่อมั่นของตลาดอาจเป็นขาขึ้นหรือขาลงก็ได้ ซึ่งหมายถึงนักลงทุนอาจเชื่อว่าราคาจะเพิ่มขึ้น หรือคาดว่าราคาจะลดลง

หากคุณวางแผนจะลงทุนระยะสั้น การให้ความสำคัญกับความเชื่อมั่นของตลาดอาจเป็นสิ่งสำคัญ คุณจะไม่ตกใจจากการเปลี่ยนแปลงของทิศทางราคาที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน และจะสามารถตัดสินใจเทรดได้อย่างชาญฉลาดมากขึ้น

ตัวบ่งชี้ความเชื่อมั่นของตลาด

ตัวบ่งชี้ความเชื่อมั่นของตลาด

นักลงทุนจะใช้หลายตัวบ่งชี้เพื่อประเมินความเชื่อมั่นของตลาด ซึ่งช่วยให้พวกเขากำหนดได้ว่าหุ้นตัวไหนน่าเทรดที่สุด

  • ดัชนี Bullish Percentage Index (BPI) แสดงให้เห็นว่าตลาดมองในแง่บวกมากเพียงใด ค่า BPI ที่สูง (เกิน 70%) จะแสดงถึงความเชื่อมั่นในขาขึ้นและอาจบ่งชี้ว่าหุ้นมีมูลค่าสูงเกินไปและตลาดก็พร้อมสำหรับการปรับตัวลง ในทางกลับกัน ค่า BPI ที่ต่ำ (ต่ำกว่า 30%) จะแสดงถึงความเชื่อมั่นในขาลง ซึ่งหมายความว่าตลาดถูกขายมากเกินไปและมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้น

  • ดัชนี Market Volatility Index (VIX) เป็นดัชนีที่สะท้อนความกังวลของนักลงทุน โดย VIX จะวัดความคาดหวังของตลาดที่มีต่อความผันผวนในอนาคต โดยอ้างอิงจากการเปลี่ยนแปลงของราคาออปชัน นักลงทุนจะใช้ราคาออปชันเป็นวิธีป้องกันตัวเองจากการปรับฐานของราคาที่อาจเกิดขึ้น ค่า VIX ที่สูงจะหมายถึงนักลงทุนในตลาดมีความกังวล ส่วนค่า VIX ที่ต่ำจะแสดงให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของตลาดมีความมั่นคงและแนวโน้มปัจจุบันก็มีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไป

  • ดัชนี High-Low เป็นการเปรียบเทียบระหว่างจำนวนหุ้นที่ทำราคาสูงสุดในรอบ 52 สัปดาห์ กับจำนวนหุ้นที่ทำราคาต่ำสุดในระยะเวลาเดียวกัน ค่าดัชนีที่ต่ำกว่า 30 จะบ่งชี้ถึงตลาดขาลง ส่วนค่าดัชนีที่สูงกว่า 70 จะแสดงถึงตลาดขาขึ้น

  • Moving Averages (MA) จะช่วยระบุว่าตลาดมีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้นหรือต่ำลง โดยเปอร์เซ็นต์ของหุ้นที่อยู่เหนือหรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่หลัก ๆ (เช่น 50-, 100- และ 200-วัน) จะส่งสัญญานว่าตลาดพร้อมสำหรับการเติบโตหรือไม่ โดยทั่วไปจะใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 50 วันและ 200 วัน เพื่อกำหนดทิศทางตลาด หากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 50 วัน ตัดขึ้นผ่านค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน จากด้านล่าง นั่นแสดงว่าตลาดอยู่ในภาวะขาขึ้น แต่ถ้าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 50 วัน ตัดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน นั่นแสดงว่าตลาดอยู่ในภาวะขาลง

  • อัตราส่วน Put/Call จะช่วยให้เทรดเดอร์เข้าใจว่าตลาดกำลังเป็นขาขึ้นหรือขาลง ออปชัน Put จะให้สิทธิ์ผู้ลงทุนขายสินทรัพย์ในราคาที่กำหนด ส่วนออปชัน Call จะให้สิทธิ์เข้าซื้อสินทรัพย์ในราคาที่กำหนดภายในระยะเวลาที่เจาะจง หากมีคนซื้อ Call มากกว่า อัตราส่วนจะต่ำกว่า 1 ซึ่งจะหมายถึงตลาดขาขึ้นและนักลงทุนก็คาดว่าราคาจะพุ่งขึ้น ในทางกลับกัน ถ้ามีการซื้อ Put มากกว่า นั่นจะแสดงถึงตลาดขาลง

  • Advance-Decline Line (ADL) จะวัดจากความแตกต่างระหว่างจำนวนหุ้นขึ้นและหุ้นลง โดยตัวบ่งชี้นี้จะแสดงให้เห็นว่ามีหุ้นถูกซื้อหรือขายมากน้อยเพียงใด ตัวบ่งชี้นี้จะช่วยให้คุณเข้าใจว่าความเชื่อมั่นของตลาดเป็นขาลงหรือขาขึ้น

  • Trading Volume เป็นอีกหนึ่งตัวบ่งชี้ที่คุณสามารถใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ โดยมันแสดงจำนวนหุ้นทั้งหมดที่ถูกซื้อขายในช่วงเวลาหนึ่ง ยิ่งปริมาณการซื้อขายสูงเท่าไร เทรดเดอร์ก็ยิ่งมีความสนใจในตลาดมากขึ้นเท่านั้น

  • Commitment of Traders (COT) เป็นรายงานประจำสัปดาห์ที่แสดงการถือครองโดยรวมของผู้เล่นต่าง ๆ ในตลาดฟิวเจอร์สสหรัฐฯ ตัวบ่งชี้นี้จะให้ภาพที่ชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับพลวัตของตลาด รายงาน COT จะถูกเผยแพร่ทุกวันศุกร์ โดยจะแสดงสถานะการลงทุนของนักลงทุนรายใหญ่ เช่น บริษัทต่าง ๆ ตามที่ Larry Williams ผู้สร้างดัชนี COT ได้กล่าวไว้ หากค่าดัชนี COT อยู่ที่ 75% หรือ 25% นี่จะเป็นสัญญาณซื้อ/ขาย ขึ้นอยู่กับว่าดัชนีนี้ถูกคำนวณสำหรับผู้เล่นตลาดกลุ่มใด ขณะที่เทรดเดอร์รายอื่น ๆ มองว่าค่าวิกฤตคือ 10% และ 90% คุณอาจลองขายหรือซื้อหุ้นประมาณ 20% และ 80% แล้วดูว่าตัวเลือกใดที่ดีกว่า

ทำความเข้าใจในความเชื่อมั่นของตลาด

การทำความเข้าใจความรู้สึกของตลาดจะช่วยให้นักลงทุนสามารถกำหนดกลยุทธ์ในการซื้อหรือขายหุ้นได้ โดยเฉพาะสำหรับการลงทุนระยะสั้น ตัวอย่างเช่น ในตลาดขาขึ้นที่ราคากำลังเพิ่มขึ้น นักลงทุนหลายคนมักเลือกขายหุ้นเพื่อทำกำไรให้มากขึ้น

ตลาดหุ้นถูกขับเคลื่อนโดยอารมณ์ของผู้เล่นในตลาด ในขณะที่มูลค่าพื้นฐานจะสะท้อนผลประกอบการจริงของธุรกิจ โดยปกติแล้วความเชื่อมั่นของตลาดจะสะท้อนถึงปฏิกิริยาของนักลงทุนที่มีต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นตัวบ่งชี้นี้อาจออกมาช้าเกินไปจนไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน หรืออาจไม่สะท้อนสถานการณ์จริง ดังนั้นควรใช้ตัวบ่งชี้ความเชื่อมั่นของตลาดอย่างระมัดระวัง เพราะมันอาจรบกวนการลงทุนระยะยาวได้

นอกจากนี้ คุณควรจำไว้ว่าสื่ออาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของตลาดได้เป็นอย่างมาก การรายงานในแง่ดีมากเกินไปอาจให้เกิดภาวะฟองสบู่ ขณะที่ข่าวในเชิงลบอาจนำไปสู่การขายแบบตื่นตระหนก ตัวอย่างเช่น สื่ออาจเพิ่มความกังวลของนักลงทุนในช่วงที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาที่พิสูจน์ว่าความเชื่อมั่นในสื่อสามารถระบุสัญญาณเตือนล่วงหน้าของวิกฤตเศรษฐกิจได้

คุณไม่ควรพึ่งพาเพียงความเชื่อมั่นของตลาดเพียงอย่างเดียว — ยังมีตัวบ่งชี้อื่น ๆ สำหรับการวิเคราะห์ตลาด ตัวอย่างเช่น หากตัวบ่งชี้แสดงถึงความเชื่อมั่นในขาลง แต่การวิเคราะห์ทางเทคนิคแสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนธุรกิจ นักลงทุนก็อาจตัดสินใจเข้าซื้อหุ้น มิฉะนั้น คความเชื่อมั่นในขาขึ้นที่รวมกับสัญญาณของการประเมินมูลค่าเกินจริงจากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานอาจต้องใช้แนวทางที่รอบคอบมากขึ้น 

ตัวอย่าง

การแกว่งตัวของตลาดหุ้นระหว่างความเชื่อมั่นในขาขึ้นและขาลงมักถูกขับเคลื่อนโดยความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและนโยบาย ตัวอย่างเช่น ในช่วงต้นปี 2020 ความเชื่อมั่นของตลาดส่วนใหญ่เป็นขาลง นักลงทุนคาดว่าจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ หุ้นถูกขายจำนวนมากและราคาก็ลดลง อย่างไรก็ตามเมื่อรัฐบาลได้ใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและนักวิทยาศาสตร์ได้ทดสอบวัคซีน นักลงทุนกลับมองโลกในแง่ดีมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ตลาดฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง

บางครั้งโซเชียลมีเดียก็สามารถส่งผลต่อความเชื่อมั่นของตลาดได้ แค่ดูตัวอย่างของบริษัท Tesla และอีลอน มัสก์ ที่เป็น CEO ของบริษัท หุ้น Tesla ได้ร่วงลงและความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้เปลี่ยนจากมองบวกเป็นมองลบ เพียงเพราะโพสต์อันคลุมเครือของเขาในโซเชียลมีเดีย ในขณะที่สถานการณ์จริงของบริษัทยังคงมั่นคงและไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่จะทำให้หุ้นร่วงหนักได้ขนาดนั้น

แบ่งปันกับเพื่อน ๆ:

เปิดบัญชี FBS

โดยการลงทะเบียน คุณได้ยอมรับเงื่อนไขของ ข้อตกลงลูกค้า FBS และ นโยบายความเป็นส่วนตัว FBS และยอมรับความเสี่ยงทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการซื้อขายในตลาดการเงินระดับโลก